วิทยศาสตร์โลกและอวกาศ

ความเป็นมา โครงการวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิก

วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ เป็นสหวิชาที่ว่าด้วยธรรมชาติของโลกทั้งระบบ ตั้งแต่การกำเนิด ขนาด องค์ประกอบ วิวัฒนาการ ร่วมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดาวดวงอื่นๆ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์  โลกกับชั้นบรรยากาศ โลกกับชั้นน้ำ โลกกับการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลก โลกกับภาวะเรือนกระจก เป็นต้น วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ จึงถือเป็นสหวิชา ที่ต้องมีการบูรณาการ ผสมผสานความรู้หลายสาขาวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา และวิชาเฉพาะอื่นๆที่เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือ วิชาธรณีวิทยา วิชาปฐพีวิทยา วิชาสมุทรศาสตร์ วิชาอุทกศาสตร์และบรรยากาศ และวิชาดาราศาสตร์ 

การจัดการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศเริ่มจัดขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2550 ณ เมืองแดกู ประเทศเกาหลีใต้ และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้เริ่มส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 4 คน เข้าร่วมการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 ณ ประเทศไต้หวัน ซึ่งนับเป็นการจัดการแข่งขันครั้งที่ 3 โดยมีอาจารย์คุมทีม คือ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย  นาคะผดุงรัตน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าทีม และรองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์  อุดมโชค จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นรองหัวหน้าทีม นักเรียนไทยได้รับรางวัล 3 คน คือ 1 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง  หลังจากนั้น ประเทศไทยได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 12 (12th IESO) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งการจัดทรัพยากรน้ำ พระบิดาแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทย และนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยชาติ” ในการแข่งขันครั้งนี้ มีนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน 4 คน และได้รับรางวัล 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง

การรับสมัคร  :  เปิดรับสมัครช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคมของทุกปี

การสอบคัดเลือก :  เดือนสิงหาคมของทุกปี

ประกาศผล  :  ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี

ค่าย 1  :

นักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกจะเข้าอบรมช่วงเดือนตุลาคม

ค่าย 2  :

นักเรียนที่ผ่านสอบค่าย 1 จะเข้าอบรมค่าย 2 ช่วงเดือนมีนาคม

การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ

การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ เป็นการแข่งขันระหว่างนักเรียนของทุกศูนย์ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ทั่วประเทศ 

และจะคัดเลือกนักเรียนผู้ประเทศไทย จำนวน 4 คน เพื่อไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ต่อไป

สิทธิพิเศษเข้าศึกษาตรง

มหาวิทยาลัยให้สิทธิพิเศษแก่นักเรียนของศูนย์สอวน. ในการให้เข้าศึกษาตรงในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมูลนิธิฯ จะนำรายละเอียดต่างๆ ขึ้นเว็บไซต์ของสอวน. หรือ มหาวิทยาลัยที่ให้สิทธิพิเศษ