ขยายผลสู่โรงเรียน

โครงการขยายผล สอวน. สู่โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์

ด้วยหลักสูตรโอลิมปิกวิชาการ
1.ความเป็นมา
 ประเทศไทยได้ส่งนักเรียนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการตั้งแต่ปี 2532 ปรากฏว่านักเรียนไทยทำได้ดีในวิชาชีววิทยาและเคมี  แต่อ่อนในวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์เนื่องจากพบว่าหลักสูตรการศึกษาของไทยต่ำกว่ามาตรฐานสากลอยู่ 1 – 2 ปีมูลนิธิสอวน.จึงได้จัดค่ายอบรมพิเศษ โดยให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเป็นผู้ให้การอบรมนักเรียนด้วยหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากลตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ทำให้ระยะหลังนี้นักเรียนไทยได้เหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการทุกคนส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญเงินและเหรียญทองที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 ของมูลนิธิสอวน. ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2554   โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน จึงมีมติว่าเมื่อมูลนิธิ ฯ บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ในการพัฒนานักเรียนไทยให้ประสพผลสำเร็จในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการแล้ว  มูลนิธิฯ จึงควรนำกระบวนการที่สร้างความสำเร็จดังกล่าวไปขยายผลให้กับครูเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ของมูลนิธิฯ ในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ให้ได้ระดับมาตรฐานสากลต่อไป

2.วัตถุประสงค์ขยายผลการอบรมครูเพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ให้ได้ระดับมาตรฐานสากลต่อไป

3. เป้าหมายมูลนิธิสอวน.  สพฐ.  และสสวท. จะร่วมมือกัน  โดยมูลนิธิ ฯ จะทำการอบรมให้กับครูในโครงการศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. ให้สามารถอบรมนักเรียนในค่าย 1 ของศูนย์ สอวน. ได้ เป็นการยกระดับกระบวนการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษให้ได้มาตรฐานสากลซึ่งอาจขยายผลไปยังโรงเรียนและนักเรียนกลุ่มอื่นในระยะต่อไป โดยระยะแรกใช้เวลา 3 ปี (2555 – 2557)

4. ระยะเวลาดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 – 2557

5. แผนดำเนินการ

(ก)  ตุลาคม ๒๕๕๔ – เมษายน ๒๕๕๕

เตรียมการวางแผนการอบรม การจัดทำสื่อต่างๆ สำหรับการอบรมให้กับครูในโครงการศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน.  เพื่อให้เข้าใจกระบวนการและสามารถนำไปอบรมค่าย ๑ ได้

ทำการคัดเลือกโรงเรียน ให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. และคัดเลือกครูเข้าร่วมโครงการ โดยคัดเลือกจากโรงเรียนที่ สพฐ. และสสวท. แบ่งไว้เป็น ๙ กลุ่มกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ กลุ่มละ ๔ โรง สำหรับ ๔ วิชา คือ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ โดยแต่ละวิชา เลือกครูในโรงเรียนเครือข่ายมาวิชาละ ๕ คน รวมเป็นจำนวนโรงเรียนทั้งหมด ๓๖ โรง และจำนวนครูทั้งหมด ๑๘๐ คน

(ข)  มิถุนายน – สิงหาคม ๒๕๕๕

ทำการอบรมครูที่ได้รับการเลือกจากข้อ ก.เพื่อให้เข้าใจกระบวนการและสามารถใช้สื่อที่เตรียมไว้ให้ได้ โดยมีการอบรม ๑๕ วัน

(ค)  ตุลาคม ๒๕๕๕

ศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. จัดอบรมตามหลักสูตรค่าย ๑ของ สอวน. โดยครูที่เข้าอบรมในข้อ (ข) เป็นผู้ให้การอบรม และมีอาจารย์มหาวิทยาลัยติดตามผลและให้คำปรึกษา มีการสอบปลายค่าย ๑ ร่วมกันกับศูนย์ สอวน.  เพื่อคัดนักเรียนรวม ๒๕ คน ไปเข้าค่าย ๒ ของศูนย์สอวน.  (เดิมเคยคัดไว้เพียง ๒๐ คน มีการเพิ่มเติมจากจำนวนเดิมอีก ๕ คน) ในเดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๕๖

(ง)  มีนาคม-เมษายน ๒๕๕๖

ศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. ส่งครูเข้าดูแลนักเรียนที่เข้าค่าย ๒  ของศูนย์สอวน. หากนักเรียนจากศูนย์โรงเรียนขยายผลได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับชาติ ให้ครูท่านนั้นเป็นครูสังเกตการณ์ในการแข่งขันระดับชาติ

ให้ครูที่เข้ารับการอบรมตามข้อ ข. กลับมารับการอบรมเพิ่มเติมอีก๗-๑๐ วัน

ทำการอบรมเช่นเดียวกับข้อ ข. กับครูที่คัดเลือกเพิ่มเติมอีก ๑๘๐ คน (รุ่น ๒)

(จ)  ตุลาคม ๒๕๕๖

ศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. ทำเช่นเดียวกับปี ๒๕๕๕

(ฉ)  มีนาคม-เมษายน ๒๕๕๗

ให้ครูที่เข้ารับการอบรมรุ่น ๒ กลับมารับการอบรมเพิ่มเติมอีก ๗-๑๐ วัน

(ช)  ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๕๗

ให้มีการสรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. (๒๕๕๔-๒๕๕๗) และจัดทำโครงการเสนอต่อสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนการดำเนินการในระยะต่อไป  ถ้าผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ อาจขยายจำนวนศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. เพื่อทำหน้าที่ให้การอบรมค่าย ๑ และทำหน้าที่แทนศูนย์ สอวน. ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป

6.ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

จะได้ครูที่มีความสามารถอบรมด้วยเนื้อหาในระดับค่าย 1 ของศูนย์ สอวน. ได้ และสามารถนำไปปรับใช้ในการสอนห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนได้ เพื่อยกระดับการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ให้เทียบเท่าระดับสากล การขยายผลให้โรงเรียนของสพฐ. ดำเนินการตามรูปแบบที่เสนอมา จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาระยะที่สอง (๒๕๕๒-๒๕๖๑)ทั้งนี้ครูพันธุ์ใหม่และครูจากโครงการสควค. จะมีโอกาสในการเข้ามาร่วมอบรมและร่วมสอนนักเรียนดังกล่าวด้วย

ข้อมูลสำหรับประกอบการดำเนินโครงการโรงเรียนขยายผล สอวน.

ปี ๒๕๕๔                       ตุลาคมเป็นต้นไปทำสื่อและอุปกรณ์

ปี ๒๕๕๕                       มิถุนายน-สิงหาคม  อบรมครูศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. จำนวน ๓๖ โรง จำนวน  ๔ วิชาๆ ละ ๔๕ คน รวมทั้งสิ้น ๑๘๐ คน เป็นเวลา ๑๕ วัน  (รุ่นที่ ๑)

ตุลาคม  ศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. ทำการอบรมค่าย ๑ โรงละ ๓๕ คน รวม ๑๒๖๐ คน  สอบปลายค่ายร่วมกับศูนย์ สอวน.  เพื่อคัดนักเรียนเข้าค่าย ๒ จำนวนเพิ่มขึ้น ๕-๑๐ คนจากจำนวนเดิม

ปี ๒๕๕๖                       มีนาคมอบรมครูศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. จำนวน ๓๖ โรง จำนวน  ๔ วิชาๆ ละ ๔๕ คน รวมทั้งสิ้น ๑๘๐ คน เป็นเวลา ๑๕ วัน (รุ่นที่ ๒)

อบรมครูรุ่นที่ ๑ เพิ่มเติม เป็นเวลา ๗ วัน

(มีการแข่งขันระดับชาติ เดือนพฤษภาคม)

ปี ๒๕๕๗                       มีนาคมอบรมครูรุ่นที่ ๒ เพิ่มเติม เป็นเวลา ๗ วัน

ตุลาคม   ศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน. ทำการอบรมค่าย ๑ โรงละ ๓๕ คน รวม ๑๒๖๐ คน  สอบปลายค่ายร่วมกับศูนย์ สอวน.  เพื่อคัดนักเรียนเข้าค่าย ๒ จำนวนเพิ่มขึ้น ๕-๑๐ คนจากจำนวนเดิม

(มีการแข่งขันระดับชาติ เดือนพฤษภาคม)

มิถุนายนประเมินผลโครงการ  หากได้ผลดีอาจทำการขยายจำนวนศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน.

รายชื่อโรงเรียนที่เป็นศูนย์โรงเรียนขยายผล สอวน.

กลุ่ม ๑  ภาคเหนือตอนบน ศูนย์ สอวน. ม.เชียงใหม่

วิชาคณิตศาสตร์             โรงเรียนจักรคำคณาทร

วิชาคอมพิวเตอร์            โรงเรียนสตรีศรีน่าน, โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

วิชาเคมี                         โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย, โรงเรียนลำปางกัลยาณี

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่, โรงเรียนวัฒนโนทัยพายัพ

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม, โรงเรียนนวมินทราชูทิศพายัพ

กลุ่ม ๒  ภาคเหนือตอนล่าง ศูนย์ สอวน. ม.นเรศวร

วิชาคณิตศาสตร์             โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี, โรงเรียนตากพิทยาคม

วิชาคอมพิวเตอร์            โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม, โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

วิชาเคมี                         โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม, โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนนครสวรรค์, โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม

กลุ่ม ๓  ภาคใต้ตอนบน ศูนย์ สอวน. ม.สงขลานครินทร์ หาดใหญ่ และศูนย์ สอวน. ม.วลัยลักษณ์

วิชาคณิตศาสตร์            โรงเรียนวิเชียรมาตุ

วิชาคอมพิวเตอร์            โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้, โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา (ศูนย์ สอวน. ม.วลัยลักษณ์)

วิชาคอมพิวเตอร์            โรงเรียนสตรีภูเก็ต, โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน ( ศูนย์ สอวน. ม.สงขลานครินทร์ หาดใหญ่)

วิชาเคมี                         โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช, โรงเรียนสตรีทุ่งสง

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนสุราษฎร์ธานี, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

กลุ่ม ๔  ภาคใต้ตอนล่าง ศูนย์ สอวน. ม.สงขลานครินทร์ปัตตานี, ศูนย์ สอวน. ม. ทักษิณ

วิชาคณิตศาสตร์             โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง

วิชาคอมพิวเตอร์            โรงเรียน วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล, โรงเรียนนราธิวาส (ศูนย์ สอวน. ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี)

วิชาเคมี                         โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล, โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนสตูลวิทยา, โรงเรียนสตรีพัทลุง

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนมหาวชิราวุธ, โรงเรียนสภาราชินี (ศูนย์ สอวน. ม.สงขลานครินทร์ หาดใหญ่)

กลุ่ม ๕  ภาคกลางตอนบน ศูนย์ สอวน. ม.เกษตรศาสตร์/ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วิชาคณิตศาสตร์            โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม

วิชาคอมพิวเตอร์            โรงเรียนสตรีอ่างทอง, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

วิชาเคมี                         โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนสตรีนนทบุรี, โรงเรียนศรีบุณยานนท์

วิชาฟิสิกส์                     โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย, โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง ปทุมธานี

กลุ่ม ๖  ภาคกลางตอนล่าง ศูนย์ สอวน. ม. ศิลปากร

วิชาคณิตศาสตร์             โรงเรียนพรหมานุสรณ์

วิชาคอมพิวเตอร์            โรงเรียนวิสุทธรังสี, โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิยาลัย

วิชาเคมี                         โรงเรียนสงวนหญิง, โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์, โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ, โรงเรียนศรัทธาสมุทร

กลุ่ม ๗  ภาคตะวันออก ศูนย์ สอวน. ม. บูรพา

วิชาคณิตศาสตร์             โรงเรียนระยองวิทยาคม

วิชาคอมพิวเตอร์           โรงเรียนระยองวิทยาคม, โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2

วิชาเคมี                         โรงเรียนชลกัลยานุกูล, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนองค์รักษ์, โรงเรียนวัดป่าประดู่

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

กลุ่ม ๘  ภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบน ศูนย์ สอวน. ม. ขอนแก่น

วิชาคณิตศาสตร์             โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

วิชาคอมพิวเตอร์           โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร, โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย

วิชาเคมี                         โรงเรียนสารคามพิทยาคม, โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

กลุ่ม ๙  ภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนล่าง ศูนย์ สอวน. ม. เทคโนโลยีสุรนารี และศูนย์ สอวน. ม. อุบลราชธานี

วิชาคณิตศาสตร์             โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

วิชาคอมพิวเตอร์           โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร (ศูนย์ สอวน. ม. อุบลราชธานี)

วิชาคอมพิวเตอร์           โรงเรียนบุณวัฒนา, โรงเรียนนางรอง (ศูนย์ สอวน. ม. เทคโนโลยีสุรนารี)

วิชาเคมี                         โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย, โรงเรียนยโสธรพิทยาคม (ศูนย์ สอวน. ม. อุบลราชธานี)

วิชาเคมี                         โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล, โรงเรียนลำปลายมาศ (ศูนย์ สอวน. ม. เทคโนโลยีสุรนารี)

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย, โรงเรียนอำนาจเจริญ (ศูนย์ สอวน. ม. อุบลราชธานี)

วิชาชีววิทยา                   โรงเรียนสุรวิทยาคาร, โรงเรียนสุรนารีวิทยา (ศูนย์ สอวน. ม. เทคโนโลยีสุรนารี)

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม, โรงเรียนสิรินธร (ศูนย์ สอวน. ม. เทคโนโลยีสุรนารี)

วิชาฟิสิกส์                      โรงเรียนมุกดาหาร, โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ (ศูนย์ สอวน. ม. อุบลราชธานี)